สิ่งที่น่าสนใจ 3 minutes 26 พฤศจิกายน 2019

ไป กิน เลย - ลิ้มรสอาหารของชาวไทดำ พร้อมดื่มด่ำบรรยากาศเมืองเลย

จังหวัดเลย เป็นที่สุดแห่งการผสมผสานวัฒนธรรมและวิถีการรับประทานอาหารตามแบบฉบับของไทดำจนกลายเป็นส่วนสำคัญของความเป็นอีสาน

ด้วยทำเลอันเงียบสงบที่ขนาบข้างด้วยแม่น้ำโขงและแม่น้ำเหือง จังหวัดเลยจึงเป็นเสมือนเพชรเม็ดงามที่ซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางความอุดมสมบูรณ์ของอุทยานแห่งชาติและเสน่ห์ทางวัฒนธรรม และเนื่องด้วยภูมิประเทศเป็นขุนเขาทอดยาวและหล่มลึก จังหวัดเลย จึงเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีประชากรน้อยที่สุดของประเทศ เป็นเพราะที่ตั้งห่างไกลจากจังหวัดอื่น ๆ ในภาคอีสาน จังหวัดเลยจึงยังคงรักษาวัฒนธรรมท้องถิ่นและเอกลักษณ์ในเรื่องของอาหารแบบดั้งเดิมไว้ได้ แต่กระนั้นก็ยังมีบางส่วนได้รับอิทธิพลจากเวียดนามและ สปป. ลาว อาหารของที่นี่จึงมีรสสัมผัสที่ใกล้เคียงกับอาหารจีนและชาวเขาพื้นเมือง หนึ่งในกลุ่มชนพื้นเมืองที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมชัดเจนที่สุดในแถบนี้ คือ ชาวไทดำ ซึ่งอพยพมาอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงต้นๆ ของปี พ.ศ.2443 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งลูกหลานของชนกลุ่มนี้ ยังคงใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน

บ้านนาป่าหนาด หมู่บ้านไทดำ  เครดิตภาพจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
บ้านนาป่าหนาด หมู่บ้านไทดำ เครดิตภาพจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

อาหารไทดำแท้ๆ ค่อนข้างเรียบง่าย ประกอบด้วยพืชผักและสมุนไพรนานาชนิด รับประทานได้ทั้งสดและต้มสุกที่เสริ์ฟมาพร้อมกับน้ำพริกหรือแจ่ว พร้อมด้วยปลาย่างหรือปลาร้า สำหรับชาวไทดำ การรับประทานอาหารถือเป็นกิจกรรมเพื่อการเข้าสังคม เพราะครอบครัวและเพื่อนฝูงต่างพร้อมใจกันร่วมวงรับประทานอาหารบนเสื่อที่ปูลาดกับพื้นพร้อมอาหารหลากหลาย โดยเฉพาะข้าวเหนียวที่จัดมาในกระติ๊บ ที่สานจากใบกกเพื่อคงความหอมนุ่มและอุ่นพอดีพร้อมรับประทาน เช่นเดียวกับทางภาคเหนือของไทย ที่มักจะเสิร์ฟอาหารเป็นชุดเล็ก ๆ บนพานข้าว หรือ พาข้าว ที่มีลักษณะเป็นถาดไม้ไผ่ฐานยกสูง ซึ่งเราเรียกว่า พาข้าวแลง หรือ การรับประทานขันโตกในแบบอีสาน

รักเลยแล้ว!
เป็นเรื่องง่ายมากที่จะตกหลุมรักเมืองเลย เพราะเสน่ห์ของตัวเมืองเลยนั้น อยู่ตรงที่การคมนาคมที่แสนสะดวก ง่ายต่อการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงเป็นอย่างมาก ในทางกลับกัน แม้เลยจะเงียบสงบในยามปกติ แต่ทุก ๆ ปีในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์แรกของเดือนที่ ๗ ชาวบ้านในอำเภอด่านซ้าย จะออกมาร่วมกันจัดงานประเพณีผีตาโขน ที่เต็มไปด้วยสีสันและความสนุกสนานมีชีวิตชีวา ในช่วงเวลาอื่น ๆ ของปี ผู้ที่รักธรรมชาติ จะสามารถสนุกสนานไปกับการเที่ยวชมแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น แก่งคุดคู้ ซึ่งเป็นแก่งหินขนาดต่าง ๆ เรียงรายเกาะตัวแน่นอยู่กลางลำน้ำโขง ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือไปเที่ยวชมทัศนียภาพโดยรอบได้ หรือจะเที่ยวสวนหินผางาม ซึ่งเป็นหน้าผาหินสูงใหญ่ เป็นจุดถ่ายภาพที่น่าประทับใจ

แก่งคุดคู้ เครดิตภาพ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
แก่งคุดคู้ เครดิตภาพ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

เริ่มต้นเช้าวันใหม่แบบชาวเลยที่ ร้านมะกัน เพื่อลิ้มลองเมนูยอดนิยมอย่างไข่กระทะและขนมปัง ซึ่งปรุงสดใหม่ เสิร์ฟพร้อมบาแก็ตขนมปังไส้หมู อีกเมนูเด็ดที่ไม่ควรพลาดคือ ต้มเลือดหมู ที่มาพร้อมกับข้าวสวยร้อน ๆ รับประทานคู่กับเลือดหมูนุ่มลิ้น น้ำซุปที่ปรุงรสชาติได้ถูกปาก จนเปิดให้บริการมากว่า 40 ปีแล้ว ดังจะเห็นได้จากลูกค้าที่หนาแน่นตลอดช่วงเช้า

Khao Piak Sen_Credit TAT.png

อีกจุดที่จะพลาดไม่ได้ คือ การไปสักการะศาลเจ้าพ่อกุดป่องและศาลหลักเมือง ซึ่งเป็นศาลที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดเลย เป็นที่ตั้งของเสาหลักเมืองที่แกะสลักและลงรักปิดทองสวยงาม ศาลนี้ยังเป็นที่ตั้งของเจ้าพ่อทองคำ ผู้คอยปกป้องคุ้มครองชาวเมืองเลยให้มีความผาสุขตลอดมา

สำหรับมื้อเที่ยง เราจะได้ไปลิ้มลองข้าวเปียกเส้น เมนูเด็ดที่ยืนยันรสชาติความอร่อยมาแล้วกว่า 25 ปี ที่ร้าน “ข้าวเปียกปากหมา” เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกขานกัน เพราะเจ้าของร้านมักจะพูดจาหยอกล้อกับลูกค้าเป็นประจำ เมนูข้าวเปียกเส้นของที่นี่นั้นยังเป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า “ก๋วยจั๊บญวน” โดยมีให้เลือกทั้งเส้นเล็กและวุ้นเส้น พร้อมทั้งสามารถเลือกรับประทานได้ทั้งหมูและปลา

เมื่อถึงช่วงบ่าย เรามุ่งหน้าไปบ้านพิพิธภัณฑ์ไทดำ ที่บ้านนาป่าหนาด เพื่อเยี่ยมชมบ้านเรือนและข้าวของเครื่องใช้แบบดั้งเดิมของชาวไทดำที่จัดแสดงไว้ ที่หมู่บ้านแห่งนี้ยังมีกิจกรรมที่เหมาะสำหรับครอบครัว เช่น “ขี่แจ่งแจ๊ะ” หรือ “ขี่ม้าโยกเยก” และการลองแต่งกายด้วยชุดไทดำ หรือจะสนุกกับการละเล่นพื้นเมืองและการประดิษฐ์ “ตุ้มนกตุ้มหนู” ซึ่งเป็นเครื่องรางที่มีลักษณะเป็นพวงโมบาย เพื่อนำไปบูชาผีฟ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวบ้าน สำหรับอาหารมื้อค่ำแบบคนพื้นเมือง ที่เรียกว่า พาข้าวแลง หรือขันโตกสไตล์อีสาน ซึ่งก่อนรับประทานอาหาร จะมีการทำพิธีแปลงขวัญหรือ พิธีบายศรีสู่ขวัญ เพื่อความเป็นสิริมงคลของผู้มาเยือน จากนั้น อาหารที่จัดเป็นชุดเล็กๆ บนขันโตกจะทยอยนำมาเสิร์ฟ พร้อมชมการแสดงทางวัฒนธรรมพื้นบ้านเพื่อความสุนทรีย์ระหว่างรับประทานอาหาร

ถนนคนเดินเชียงคาน เครดิตภาพ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ถนนคนเดินเชียงคาน เครดิตภาพ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

เมื่อตะวันลับขอบฟ้าแล้ว ก็ถึงเวลาเดินเล่นชมสินค้า และงานฝีมือที่ถนนคนเดินเชียงคาน ถนนสายยาวที่เรียงรายด้วยบ้านไม้เก่าตกแต่งแบบเก๋ๆ ตลอดสองฝั่ง โดยในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์และวันนักขัตฤกษ์ บริเวณนี้จะเต็มไปด้วยแผงขายอาหารนานาชนิด รวมทั้งของที่ระลึกกระจุกกระจิกประเภทงานฝีมือ และของฝากมากมายให้เลือกสรร โดยเฉพาะขนมขึ้นชื่ออย่างมะพร้าวแก้ว ซึ่งทำจากเนื้อมะพร้าวอ่อนนุ่มเคลือบเกล็ดน้ำตาลทรายเล็กๆ หอมอร่อย และถั่วคั่วทรายกรอบหอมกลิ่นกาแฟชดชื่นด้วย

บทความนี้ได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)

ข้อมูลเพิ่มเติม www.tourismthailand.org

ที่อยู่สำหรับติดต่อ
บ้านนาป่าหนาด ศูนย์วัฒนธรรมไทดำ
หมู่ 4 ถนนนาบอน-สงเปือย บ้านนาป่าหนาด ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน 42110
โทรศัพท์ 08 7973 3686

ร้านข้าวเปียกเส้น
เลขที่ 339 หมู่ 1 ถนนศรีเชียงคาน ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย 42110
โทรศัพท์ 08 5447 3812

ร้านอาหารมะกัน
เลขที่ 2/48-49 ถนนชุมสาย (ตรงข้ามโรงแรม Royal Inn) ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย 42000
โทรศัพท์ 0 4281 1379

สิ่งที่น่าสนใจ

ดูอย่างอื่นต่อ - เรื่องราวที่คุณอาจสนใจ