สุขภาพ 2 minutes 26 เมษายน 2021

หอยนางรม เมนูโอชะอันมากประโยชน์

สัตว์ทะเลดึกดำบรรพ์นี้มีดีมากกว่าแค่รสอร่อย

คุณเป็นคนหนึ่งไหมที่รักการดื่มด่ำในรสอร่อยของหอยนางรม รู้หรือไม่ว่าเจ้าสัตว์ทะเลเปลือกแข็งนี้แท้จริงแล้วยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหาร แต่นอกจากจะขึ้นชื่อเรื่องเป็นอาหารปลุกอารมณ์รักแล้ว นี่คือเหตุผลดี ๆ ที่เราอยากชวนกระเทาะเปลือกรับประทาน

หมายเหตุ: บทความนี้ใช้ข้อมูลด้านสารอาหารของหอยนางรมแปซิฟิก ซึ่งอาจมีความแตกต่างเล็กน้อยไปจากหอยนางรมจากแอตแลนติก รวมไปถึงขึ้นอยู่กับที่มาว่ามาจากฟาร์มเลี้ยงหรือจากธรรมชาติ

โปรตีน

รู้ไหมว่าหอยนางรมอุดมไปด้วยโปรตีนชั้นยอด ซึ่งหอยนางรมขนาดกลางตัวหนึ่งนั้นมีโปรตีนอยู่ 4 ถึง 5 กรัม ขณะที่หอยนางรม 85 กรัม (หรือหอยขนาดกลางราว ๆ 6 ตัว) มีโปรตีนถึง 15 กรัม และมีแคลอรี่อยู่ที่ 50 เท่านั้น และนอกเหนือจากประโยชน์ของโปรตีนที่ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และดีกับเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย ทั้งกระดูก กระดูกอ่อน ผิวหนังและกล้ามเนื้อแล้ว ยังช่วยให้รู้สึกอิ่มท้อง

ดังนั้นหากคุณกังวลเรื่องเข็มตาชั่งและห่วงเรื่องแคลอรี่ หอยนางรมถือเป็นทางเลือกเพราะทั้งอิ่มและอร่อยอีกด้วย

สังกะสี

สังกะสีเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อการทำงานของเอ็นไซม์ในร่างกายกว่า 300 ชนิด และช่วยเสริมสร้างกระบวนการของร่างกาย ทั้งการเจริญเติบโตและพัฒนาการต่าง ๆ รวมไปถึงรักษาแผล และการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ส่วนหอยนางรม 85 กรัมอุดมด้วยสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวันได้ถึง 94% ซึ่งความอุดมด้วยธาตุสังกะสีนี่เองที่ทำให้หอยนางรมกลายเป็นวัตถุดิบขึ้นชื่อเรื่องปลุกเร้าอารมณ์ทางเพศ เพราะเป็นธาตุที่มีบทบาทช่วยในการเจริญพันธุ์ของเพศชายด้วยการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนมีบทบาทช่วยในการเจริญพันธุ์ของเพศชายด้วยการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน

วิตามินบี 12

วิตามินบี 12 ถือเป็นแร่ธาตุสำคัญที่จำเป็นต่อระบบประสาทและการทำงานของสมอง ทั้งยังมีประโยชน์ต่อดีเอ็นเอและการผลิตเซลเม็ดเลือดแดง นั่นเป็นเหตุผลที่เมื่อร่างกายมีระดับวิตามินนี้ต่ำ เราจึงรู้สึกเหนื่อยหรือมีอาการมือเท้าชาและสมองไม่ปลอดโปร่ง การรับประทานหอยนางรมราว ๆ 6 ตัวสามารถเติมวิตามินนี้ที่ร่างกายต้องการได้เพิ่มเป็นสองเท่าทีเดียว

กรดไขมันโอเมก้า 3

ใครว่าแซลมอนจะเป็นพระเอกคนเดียวของงานนี้ แท้จริงแล้วหอยนางรมก็เปี่ยมไปด้วยกรดไขมันดีไม่แพ้กัน ซึ่งมีบทบาทสำคัญกับการทำงานของสมอง รวมถึงการเจริญเติบโตและพัฒนาการ โอเมก้า 3 ยังสามารถช่วยเรื่องสุขภาพจิตและอารมณ์ ทั้งอาจมีส่วนช่วยจัดการกับภาวะซึมเศร้าได้ ยิ่งไปกว่านั้นโอเมก้า 3 ที่ว่ายังดีต่อร่างกายตรงที่ช่วยลดอาการบวมและอักเสบได้ โดยมีงานวิจัยหลายชิ้นที่ชี้ว่าอาจช่วยลดฮอร์โมนความเครียดอย่างคอร์ติซอล ซึ่งหอยนางรมประมาณ 6 ตัวให้กรดไขมันโอเมก้า 3 ได้ถึง 629 มิลลิกรัม และหากคุณมองหาเมนูหอยนางรมอร่อย ๆ เพื่อสุขภาพ เราขอแนะหอยนางรมตามธรรมชาติที่มักมีกรดไขมันดีมากกว่าแบบเลี้ยงในฟาร์ม

ธาตุเหล็ก

Iron is a mineral that's important for maintaining stable energy levels by helping transport oxygen through the blood to the different organs and tissues in the body. This is another reason oysters are thought to have an aphrodisiac effect—those benefits to blood circulation certainly translate very well in the bedroom. A three-ounce service provides 24% of your daily needs.

แมกนิเซียม และโปแตสเซียม

ทั้งแมกนิเซียมและโปแตสเซียมเสริมสร้างให้กล้ามเนื้อและระบบประสาททำงานเป็นระบบ และหากได้รับแร่ธาตุทั้งสองในปริมาณที่พอเพียงยังช่วยเรื่องความดันเลือดให้เป็นปรกติซึ่งส่งผลดีต่อหัวใจ โดยการรับปประทานหอยนางรมจำนวนที่กล่าวข้างต้นสามารถเติมแมกนิเซียมที่จำเป็นต่อร่างกายได้ราว ๆ 5% และ 4% สำหรับโปแตสเซียมได้อีกด้วย

ซีลีเนียม

ขณะที่เรารับประทานหอยนางรมอย่างเอร็ดอร่อย ร่างกายก็ได้รับซีลีเนียมเข้าไปพร้อมกัน ซึ่งซีลีเนียมเป็นธาตุที่มีบทบาทในการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ และมีส่วนในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ทั้งช่วยเรื่องระบบสืบพันธุ์และภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทั้งยังมีหลักฐานว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีเยี่ยม และการรับประทานหอยนางรม 85 กรัมช่วยเติมเต็มซีลีเนียมที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันได้ถึง 93% เชียว


กินอย่างไรให้อร่อยและได้ประโยชน์

เพื่อให้ได้สารอาหารและคุณประโยชน์ของหอยนางรมตัวอวบอย่างครบถ้วน ควรรับประทานแบบสด นึ่ง เผา หรืออบ แต่ระวังอย่าใส่เนยและโรยเศษขนมปังหนักมือไปเสียก่อน และการนำไปทอดในน้ำมันนั้นแม้ว่ารสชาติจะเย้ายวนชวนอร่อยเพียงใด แต่กลับลดคุณประโยชน์ ทั้งยังเป็นการเพิ่มแคลอรี่และไขมันอิ่มตัวที่ไม่จำเป็นให้กับร่างกาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับน้ำมันที่ใช้ทอดเช่นกัน

สรุปแล้ว

ยิ่งกว่ารสชาติแสนอร่อย หอยนางรมยังให้ประโยชน์แก่ร่างกายมากมายหากรับประทานในระดับที่พอดี ทั้งนี้ควรปรึกษาบุคคลากรทางการแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญถึงจำนวนที่ควรบริโภคอย่างพอเหมาะเพื่อความปลอดภัย

อ้างอิง:
USDA National Nutrient Database for Standard Reference Legacy Release
Self Nutrition Data

สุขภาพ

ดูอย่างอื่นต่อ - เรื่องราวที่คุณอาจสนใจ