การจัดอันดับร้านตามมาตรฐานมิชลิน ไกด์

รางวัลดาวมิชลินคงเคยผ่านหูคุณมาบ้าง แต่คุณรู้หรือไม่ว่ารางวัลแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร และเราไม่ได้มอบแค่ดาวเท่านั้น วันนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักกับรางวัลมิชลินประเภทต่าง ๆ


ดาวและความสะดวกสบาย

มิชลิน ไกด์จะมีรีวิวสั้น ๆ ของแต่ละร้าน พร้อมระบุสัญลักษณ์ของรางวัลต่าง ๆ ที่เรามอบให้ แน่นอนว่า รางวัลที่ทุกคนรู้จักและเหล่าเชฟใฝ่ฝันคือรางวัลดาวมิชลิน ซึ่งมีตั้งแต่ 1-3 ดาว แต่เราก็ยังมีรางวัลที่ไม่มีดาวอีกต่างหาก หลักเกณฑ์ที่ใช้ประเมินแต่ละร้านมี 5 อย่าง ประกอบด้วยคุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้ ความโดดเด่นของรสชาติและเทคนิคการรังสรรค์อาหาร เอกลักษณ์เฉพาะตัวของเชฟที่นำเสนอผ่านมื้ออาหาร ความคุ้มค่าสมราคา และความคงที่ของประสบการณ์ในการทานต่างวาระ

รางวัลมิชลินจะไม่ได้พิจารณาถึงการตกแต่งร้าน การจัดโต๊ะ หรือการบริการ ทั้ง 3 หัวข้อนี้จะเรียกรวมเป็น “ระดับความความสะดวกสบาย” แทน โดยใช้สัญลักษณ์ช้อนส้อมไขว้กัน

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้ตรวจสอบมิชลินได้ที่นี่

รางวัลบิบ กูร์มองด์และมิชลิน เพลท

แม้จะไม่ใช่ติดดาว แต่ก็ไม่ใช่รางวัลปลอบใจ ชื่อรางวัลบิบ กูร์มองด์มาจากมาสคอตของมิชลินกรุ๊ปอย่างเจ้าบีเบนดั้ม (Bibendum) หรือที่หลายคนรู้จักในนามมิชลิน แมน รางวัลนี้จะมอบให้ร้านที่นำเสนออาหารรสชาติดีในราคาไม่แพง น่าลองไม่แพ้ร้านติดดาว

ระหว่างที่ผู้ตรวจสอบมิชลินออกเสาะหาและตรวจสอบร้านอาหารทั่วโลก พวกเขาไม่ได้ให้ความสำคัญแค่กับร้านหรู แต่ยังมองหาร้านที่นำเสนออาหารคุณภาพดีในราคามิตรภาพ เมื่อรายชื่อร้านเหล่านี้เพิ่มขึ้น รางวัลบิบ กูร์มองด์จึงถือกำเนิด

ในช่วงแรก มิชลิน ไกด์จะใช้อักษร R สีแดงเพื่อบ่งบอกถึง “ร้านอาหารอร่อยในราคาย่อมเยา” ถ้าสั่งอาหารครบทุกคอร์ส ตั้งแต่ของทานเล่น จากหลัก และของหวานแล้ว ราคารวมจะใกล้เคียงกับร้านระดับเดียวกัน (ราคาโดยประมาณอยู่ที่ 36 Euro ในยุโรป 40 US Dollar ในอเมริกา 30 Hong Kong Dollar ในฮ่องกง หรือ 5,000 Yen ในญี่ปุ่น)

ในพ.ศ.2540 มิชลิน ไกด์เปิดตัวสัญลักษณ์ร้านรางวัลบิบ กูร์มองด์เป็นครั้งแรก เป็นรูปมิชลิน แมนเลียริมฝีปาก ตั้งแต่นั้นมา นักชิมที่มองหาความคุ้มค่าต่างหลงรักตุ๊กตาตัวนี้

นอกจากนี้ ผู้ตรวจสอบมิชลินยังพบว่า รางวัลบิบ กูร์มองด์ช่วยผลักดันให้เจ้าของร้านอาหารต่าง ๆ หันมาใส่ใจนำเสนอรสชาติท้องถิ่นผ่านอาหารคุณภาพ ในราคาที่จับต้องได้ ภายใต้บรรยากาศเป็นกันเอง

มิชลิน ไกด์ )บับกรุงปารีส ประจำปีพ.ศ.2559 ได้เพิ่มรางวัลมิชลิน เพลท หรือ L’Assiette เพื่อบ่งบอกถึงร้านที่ “เสิร์ฟอาหารดีมีคุณภาพ”

อร่อยกับรสชาติท้องถิ่น

นอกจากอาหารที่ทั่วโลกรู้จัก มิชลิน ไกด์ยังนำเสนออาหารท้องถิ่นอีกด้วย เราแนะนำทาปาส บาร์ในประเทศสเปนด้วยสัญลักษณ์ไวน์และไม้จิ้มฟัน บาร์คุณภาพในอังกฤษจะได้รับสัญลักษณ์เหยือกเบียร์ ส่วนร้านอาหารริมทางในเอเชียจะได้รับสัญลักษณ์รูปรถเข็น

ร้านอาหารซึ่งมีรายการไวน์ สาเก หรือค็อกเทลที่น่าสนใจจะได้รับสัญลักษณ์รูปองุ่น ขวดสาเก และแก้วค็อกเทลตามประเภทของเครื่องดื่มที่เราแนะนำ

97d98582bc6644b2b1e7b46e44508a56_Street+Food.jpg

ร้านอาหารริมทาง

Street food ถือเป็นหัวใจอาหารไทยอย่างหนึ่ง เราจึงสร้างสัญลักษณ์รูปรถเข็นสองล้อพร้อมหลังคาเพื่อบ่งบอกถึงเฉพาะลักษณะร้าน ไม่ได้นับรวมรสชาติ

05dec75d790b45ccbea45328552b3b42_078.jpg

รายการไวน์ที่น่าสนใจ

มองหาสัญลักษณ์นี้ ถ้าคุณอยากได้ร้านอาหารที่มีไวน์ลิสต์ยอดเยี่ยม เราแนะนำตั้งแต่ร้านหรูที่มีซอมเมอลิเยร์มายืนแนะนำถึงโต๊ะ ไปจนถึงร้านเรียบง่ายที่เจ้าของหลงใหลในไวน์

4fcb6d13eb8e468a967d8b9ad7ee86c7_101e.jpg

ทิวทัศน์ตระการตา

แสงแดง 3 เส้นแสดงถึงร้านที่มีทิวทัศน์งดงาม เพิ่มความดื่มด่ำระหว่างมื้ออาหาร

853124851fca4b75ac9a8d37f7807410_114.jpg

ที่นั่งรับอากาศธรรมชาติ

รูปร่มสนามบอกให้คุณทราบว่า ทางร้านมีพื้นที่ด้านนอก นั่งทานอาหารพร้อมสัมผัสอากาศธรรมชาติได้

06ba0cda3c80458c8491dbfe22276756_Simple+Shop.jpg

บรรยากาศเป็นกันเอง

ร้านที่เสิร์ฟอาหารอร่อยในบรรยากาศง่าย ๆ อย่าสับสนกับสัญลักษณ์ร้านอาหารริมทาง สัญลักษณ์นี้บ่งบอกถึงร้านที่มีพื้นที่เป็นสัดส่วน แต่ไม่ได้ตกแต่งหรูหรา

d128008f93cb4d7dba336682129913c2_148.jpg

ที่นั่งเคาน์เตอร์

สัญลักษณ์นี้บ่งบอกว่า แขกสามารถเลือกนั่งที่เคาน์เตอร์หน้าครัวเปิด เพื่อตื่นตากับการรังสรรค์อาหารของเหล่าเชฟได้

เกี่ยวกับผู้ตรวจสอบมิชลิน

กระแส เทคนิคการทำอาหาร หรือแม้แต่ความนิยมในตัวร้านอาหารอาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนมานานกว่าศตวรรษ คือพันธกิจที่มิชลิน ไกด์รักษาไว้อย่างแน่วแน่ เรามุ่งมั่นส่งเสริมวัฒนธรรมการออกเดินทางเพื่อลิ้มรสสุดยอดอาหาร และด้วยคำมั่นสัญญาที่จะนำเสนอข้อมูลอย่างจริงใจนี้เองทำให้ มิชลิน ไกด์แตกต่างจากหนังสือแนะนำร้านอาหารอื่น ๆ ทั่วไป

หลักการที่ผู้ตรวจสอบมิชลินต้องยึดถือ:

การไม่เปิดเผยตัวตน: แม้ว่าผู้ตรวจสอบของเราจะถือเป็นพนักงานของมิชลิน แต่พวกเขาก็คือลูกค้าเช่นเดียวกับคนทั่วไป ดังนั้น พวกเขาจะเข้าประเมินคุณภาพของร้านโดยไม่เปิดเผยตัวตน เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่ได้รับสิทธิหรือการปฏิบัติที่พิเศษกว่าปกติ การไม่เปิดเผยตัวตนจึงเป็นสำคัญอย่างยิ่งกับความน่าเชื่อถือของมิชลิน ไกด์

การทำงานเป็นอิสระ: ผู้ตรวจสอบของ มิชลิน ไกด์ เป็นพนักงานของมิชลิน กรุ๊ปเท่านั้น และไม่มีความสัมพันธ์กับองค์กรอื่นใดทั้งสิ้น ผู้ตรวจสอบจะชำระค่าใช้จ่ายในแต่ละมื้อเต็มจำนวน เพื่อยืนยันความเป็นอิสระเหนือภาระผูกพันทั้งปวง

ความเชี่ยวชาญ: ผู้ตรวจสอบของ มิชลิน ไกด์ คือผู้เชี่ยวชาญที่คลุกคลีในวงการอาหาร ร้านอาหารและโรงแรม โดยมีประสบการณ์ทำงานในสายงานเหล่านี้โดยตรงหลายปี

ความน่าเชื่อถือ: รางวัลประเภทต่าง ๆ ที่ร้านอาหารได้รับจาก มิชลิน ไกด์ไม่ได้มาจากการประเมินของผู้ตรวจสอบคนใดคนหนึ่ง แต่ละรางวัลคือการประเมินและตัดสินใจร่วมกันของผู้ตรวจสอบหลายท่านที่แวะเวียนไปที่ร้านแห่งนั้นหลายครั้ง จนมั่นใจว่าเป็นร้านที่มีคุณภาพตามมาตรฐานของมิชลิน ไกด์จริง ๆ

ความหลงใหลในอาหาร: แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้ตรวจสอบมิชลินจะสามารถทำภารกิจอันหนักหน่วงนี้ได้ หากเขาเหล่านั้นไม่มีใจรักทางด้านอาหารอย่างแท้จริง ผู้ตรวจสอบจากมิชลินส่วนใหญ่เคยทำงานในวงการอาหารและบริการโดยตรง หรือแม้แต่เป็นเชฟมาก่อน ดังนั้นผู้อ่านจึงมั่นใจได้ว่า การประเมินของเรานั้นเกิดจากความรัก จรรยาบรรณ และความรู้จริง

คุณภาพ: ทุกร้านสามารถได้รับการประเมินจากมิชลิน ไกด์ หากร้านเหล่านั้นมีคุณสมบัติ 5 ประการตามเกณฑ์การพิจารณา

หลักเกณฑ์ประเมิน 5 ประการของผู้ตรวจสอบของมิชลิน

1.คุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้
2. ความโดดเด่นของรสชาติและเทคนิคการรังสรรค์อาหาร
3. เอกลักษณ์เฉพาะตัวของเชฟที่นำเสนอผ่านมื้ออาหาร
4. ความคุ้มค่าสมราคา
5. ความคงที่ของประสบการณ์ในการทานต่างวาระ 

อ่านบทสัมภาษณ์ผู้ตรวจสอบมิชลินได้ที่นี่

ดูอย่างอื่นต่อ - เรื่องราวที่คุณอาจสนใจ